วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ของศักดิ์สิทธิ์สมัยโบราณ (หีบพันธสัญญา (Ark of the Covenant))


หีบพันธสัญญา (Ark of the Covenant)



 พระเจ้าทรงบัญชาให้โมเสส สร้างตามพระบัญชาของพระเจ้า (อพย.25:18-22) สร้างโดยเบซาเลลและโอโฮลีอับ(อพย.36-37) และนำไปไว้ในพลับพลา เป็นหีบไม้กระถินเทศหุ้มทองคำทั้งด้านนอกด้านใน มีขนาด 1.22 x 0.76 x 0.76 เมตร ฝาปิดหีบเรียกว่า "พระที่นั่งแห่งพระกรุณา" (Mercy Seat) มีเครูบสองตนอยู่ตนละด้าน หันหน้าเข้าหากัน กางปีกออกปกพระที่นั่งแห่งพระกรุณา (ฮบ 9:4-5) หีบนี้ประดิษฐานอยู่ในห้องชั้นในสุดของกระโจมที่ประทับตั้งแต่สมัยโมเสส เมื่อกษัตริย์ซาโลมอนทรงสร้างพระวิหาร หีบนี้ถูกนำมาประดิษฐานไว้ในห้องชั้นในสุด ที่เรียกว่าอภิสุทธิสถาน” (Holy of Holies) เป็น "สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด" ของพลับพลา
     สิ่งที่บรรจุอยู่ในหีบพันธสัญญา มี 3 สิ่งคือ แผ่นศิลา 2 แผ่น ที่จารึกพระบัญญัติ 10 ประการ กับโถใส่มานา และไม้เท้าของอาโรนที่ออกดอกตูม


     หีบพันธสัญญา เป็นหัวใจหรือศูนย์กลาง ที่สร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้น ในการนมัสการพระเจ้า สมัยที่อิสราเอล ตั้งหลักแหล่งใหม่ๆ หีบนี้เก็บไว้ที่กิลกาล (ยชว.4:15-24) ภายหลังจึงย้ายไปเก็บที่เมืองเบธเอล (วนฉ.20.27) ในสมัยซามูเอล หีบนี้เก็บไว้ที่เมืองชิโลห์ (1ซมอ.3.3) โดยเชื่อว่าหีบใบนี้มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับพระเจ้า จึงมีฤทธานุภาพอยู่ในตัว ดังนั้นในยามเกิดสงคราม พวกเขาจะหามหีบพันธสัญญานำหน้ากองทัพ เพื่อบำรุงขวัญบรรดานักรบ ของพระเจ้า (1ซมอ.4.5-9) และใช้พระนามใหม่ที่เกี่ยวข้องกับหีบพันธสัญญาว่า "ยาห์เวห์ สะบาโอธ"(Yahweh Sabaoth) แปลว่า "พระเจ้าจอมโยธา" แสดงว่า พระเจ้าทรงจอมทัพของพวกเขา (1ซมอ.4.4)
     เมื่อคนฟีลิสเตียมาบุกอิสราเอล (1ซมอ.4:1-22,5:1-0) และได้ยึดหีบพระพันธสัญญาไปวางไว้ในวิหารแห่งพระดาโกน ต่อมาเมื่อกษัตริย์ดาวิด (2ซมอ.6) มีชัยเหนือชาวฟิลิสเตีย ได้นำหีบพันธสัญญากลับมา ภายหลังราชวงศ์ของกษัตริย์ดาวิด ชนชาติอิสราเอลหันจากทางของพระเจ้า พระเจ้าจึงลงโทษให้พวกเขาพ่ายแพ้สงคราม และตกเป็นเชลย กรุงเยรูซาเล็ม และพระวิหารถูกกองทัพบาบิโลนทำลายในปี 587 ก่อน คริสตศักราช หีบพันธสัญญานี้หายไปไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า
อยู่ที่ใด

ของศักดิ์สิทธิ์สมัยโบราณ (เชิงเทียน 7 กิ่ง หรือ เมโนราห์ The Menorah)

เชิงเทียน 7 กิ่ง หรือ เมโนราห์ (The Menorah)



     เชิงเทียน  7 กิ่ง หมายถึง วันของชาวยิว และเป็นสัญลักษณ์ถึง 7 วัน แห่งการสร้างโลก  บางแห่งในพระคัมภีร์ แปลว่า เชิงตะเกียง” 
     เชิงเทียนแบบ 9 กิ่ง ใช้โดยชาวยิวในพิธีฉลองของ HANUKKAH ที่บางครั้งเรียกว่า งานฉลองความสว่าง และพิธีฉลองของการอุทิศ ถูกใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องตกแต่งวิหาร
     เชิงเทียนกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย ในจารีตประเพณีของชาวคริสต์ แทนพระเยซูคริสต์หมายถึง
ความสว่างของโลกสัญลักษณ์ของตะเกียงที่จุดอยู่ คือสิ่งที่มีปรากฏในประวัติศาสตร์ของความรอดพ้น และมันยังเป็นสัญลักษณ์ของเสาเพลิงซึ่งส่องสว่างหนทางให้แก่ประชากร ยิ่งไปกว่านั้น เชิงเทียน 7 กิ่ง ยังหมายถึงกษัตริย์ดาวิด ผู้ได้รับการเจิมโดยพระจิต พระองค์คือตะเกียงของอิสราเอล” ปัจจุบันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนายิว